ตีเส้นจราจร คือ กระบวนการสร้างเครื่องหมายหรือเส้นบนพื้นผิวถนนเพื่อแสดงทิศทางการจราจร กำหนดช่องทางเดินรถ หรือเตือนผู้ขับขี่ให้ระมัดระวังในพื้นที่เฉพาะ เช่น ทางม้าลาย ทางแยก หรือเขตห้ามจอด เส้นจราจรที่พบเห็นบ่อย ได้แก่ เส้นทึบ เส้นประ เส้นแบ่งเลน เส้นขอบทาง และเส้นหยุดรถ ซึ่งแต่ละเส้นมีความหมายเฉพาะเพื่อความปลอดภัยและความเป็นระเบียบในการสัญจร
การตีเส้นจราจรสามารถทำได้ด้วยสีเทอร์โมพลาสติก สีเย็น หรือวัสดุสะท้อนแสง ซึ่งมักใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์เฉพาะเพื่อให้ได้เส้นที่แม่นยำและคงทน การบำรุงรักษาเส้นจราจรให้ชัดเจนอยู่เสมอจึงมีความสำคัญ เพราะช่วยลดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัย และทำให้การจราจรไหลลื่นมากยิ่งขึ้น
โดยทั่วไป งานตีเส้นจราจรมักอยู่ในความดูแลของหน่วยงานราชการ เช่น เทศบาล กรมทางหลวง หรือหน่วยงานท้องถิ่น แต่ก็มีบริษัทเอกชนที่ให้บริการตีเส้นจราจรเช่นกัน ทั้งในพื้นที่ถนนสาธารณะและพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น โครงการหมู่บ้าน ลานจอดรถ หรือนิคมอุตสาหกรรม
TAGS • ตีเส้นจราจร
ตีเส้นจราจร กับขั้นตอนการทำงาน
ตีเส้นจราจร คือกระบวนการสร้างเครื่องหมายบนพื้นถนนเพื่อช่วยในการควบคุมและจัดระเบียบการจราจรให้เป็นระเบียบ ปลอดภัย และเข้าใจตรงกัน ซึ่งมักพบได้ทั้งบนถนนหลวง ทางหลวงในเมือง ลานจอดรถ หรือเขตก่อสร้าง โดยการตีเส้นจราจรนั้นต้องอาศัยความแม่นยำ ความรู้ด้านวิศวกรรม และวัสดุเฉพาะทาง โดยมี ขั้นตอนการทำงานหลักๆ ดังนี้
การสำรวจพื้นที่ – ขั้นแรกต้องทำการวัดและประเมินพื้นที่ว่าต้องตีเส้นแบบใด เช่น เส้นแบ่งเลน เส้นหยุด เส้นห้ามจอด หรือเส้นลูกศร เพื่อวางแผนการทำงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกรมทางหลวงหรือท้องถิ่น
การทำความสะอาดพื้นผิว – เพื่อให้สีติดแน่นและคงทน ต้องทำความสะอาดพื้นผิวถนนให้ปลอดจากฝุ่น น้ำมัน หรือเศษวัสดุ
การวัดและกำหนดแนวเส้น – ใช้เครื่องมือวัดระดับหรือเชือกตีแนว เพื่อให้แนวเส้นตรง แม่นยำ และตามแบบมาตรฐาน
การตีเส้นด้วยสีเทอร์โมพลาสติกหรือสีจราจรพิเศษ – ใช้เครื่องพ่นสีหรือรถตีเส้นโดยเฉพาะ ซึ่งต้องควบคุมอุณหภูมิและความหนาของเส้นตามมาตรฐาน
การรอให้สีแห้งและตรวจสอบ – ทิ้งไว้ให้สีแห้งสนิท ตรวจสอบความเรียบร้อย และปรับปรุงหากจำเป็น
การตีเส้นจราจร อย่างถูกวิธีไม่เพียงแต่ช่วยลดอุบัติเหตุ แต่ยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้ถนน เป็นส่วนสำคัญของระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการจราจรอย่างแท้จริง
เห็นพูดถึงการตีเส้นจราจรที่ถนนทั่วไปกันเยอะ ขอพูดถึงเส้นสัญลักษณ์ของผู้พิการบ้าง ที่จะมีส่วนเพิ่มพื้นที่เป็นเส้นเอียงสีขาวเหลืองข้าง ๆ ทั้งปั๊มน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า และสถานที่ราชการต่าง ๆ ซึ่งทางเจ้าของสถานที่เค้าตีเส้นไว้ชัดเจนแล้ว แต่ก็ยังมีรถมอเตอร์ไซค์เข้าไปจอดที่ส่วนเพิ่มตรงนั้น ซึ่งไม่ถูกต้อง อยากให้รู้ว่าตรงนั้นคือพื้นที่สำหรับผู้พิการทั้งหมด เพราะผู้พิการที่นั่งรถเข็นจะต้องใช้พื้นที่ตรงนั้นด้วย เห็นใจผู้พิการด้วยนะครับ สังคมจะได้น่าอยู่
ขอพูดถึงทางม้าลายบ้าง ถ้าเป็นการตีเส้นจราจรใหม่ ๆ เส้นก็จะชัดเจน ตรงนี้ไม่เป็นปัญหา จนเวลาผ่านไปเส้นของทางม้าลายก็จะค่อย ๆ เลือนหายไป แต่ยังไงก็ยังก็มีให้เห็นอยู่ดี ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย คนข้ามทางก็ควรข้ามให้ตรงทางม้าลายด้วย อันตรายจะได้ลดน้อยลง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบก็ควรหมั่นตรวจเช็คความชัดเจนให้สม่ำเสมอ ส่วนคนขับรถก็ควรลดความเร็วและหยุดรถให้คนข้ามด้วยเช่นกัน
เนื่องจากเรามักจะเดินทางไกลค่อนข้างบ่อย แล้วจะเป็นเส้นทางภาคเหนือซึ่งจะมีทางโค้งค่อนข้างมาก บวกกับเป็นคนที่ขับรถช้า เลยได้สังเกตเห็นว่าบางเส้นทางที่แลดูค่อนข้างอันตราย เค้าจะมีการตีเส้นจราจรเป็นคำอ่านได้เลย เช่น “ลดความเร็ว” ซึ่งมีประโยชน์อย่างมาก ดังนั้นถ้าผู้ใช้ทางจะหมั่นสังเกตสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไปโดยตลอดทาง รวมถึงป้ายบอกทางด้วย มั่นใจว่าจะทำให้อุบัติเหตุลดลงไปได้มาก ๆ เลย
ชื่นชมการตีเส้นจราจรที่เป็นเส้นเตือนการเข้าเขตชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาล ต่าง ๆ ที่เป็นเส้นนูนสีขาว คาดยาวทั้งเลนส์ ในมุมมองของคนขับรถ การที่รถสะเทือนด้วยเส้นเตือนชุดนี้ทำให้ลดความเร็วของรถไปได้มาก การเกิดอันตรายก็จะลดน้อยลงด้วย แต่เจ้าหน้าที่ต้องหมั่นตรวจสอบอยู่บ่อย ๆ เพราะนาน ๆ เข้า เนินนูนของเส้นก็จะค่อย ๆ ลดความหนาลง เส้นสัญลักษณ์เหล่านี้ก็จะไม่มีความหมายอะไรเลย
ถ้าจะให้พูดถึงประโยชน์ของการตีเส้นจราจร ก็แน่นอนว่าต้องมีประโยชน์อยู่แล้ว แต่จะมีประสิทธิภาพมากพอหรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้ใช้ทางด้วย ซึ่งจุดนี้แหละเป็นเรื่องที่ยากที่สุด เพราะการกระทำและความคิดเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ต้องคิดกันได้เอง ดังนั้นในฐานะที่เป็นผู้ใช้ทางคนหนึ่ง ก็จะคอยสังเกตสัญลักษณ์อยู่เสมอ ก็เพื่อทั้งความปลอดภัยของตัวเอง รวมไปจนถึงคนอื่น ๆ ด้วย
เราเข้าสู่ยุคที่คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ชุมชนต่าง ๆ ก็เลยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนด้วยการสร้างเส้นทางเพิ่มให้ เช่น ทางสำหรับรถจักรยาน ทางสำหรับคนเดินออกกำลังกาย และทางสำหรับคนวิ่ง ซึ่งก็จะมีการตีเส้นจราจรไว้ให้อย่างชัดเจน ดังนั้นผู้ใช้ทางก็ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ทางของจักรยานก็อย่าไปเดินหรือไปวิ่ง จะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุที่มันไม่น่าเกิดขึ้นได้ สังคมเราจะได้น่าอยู่มากขึ้น
มีการใช้สัญลักษณ์ที่มีการทาสีแดงทั้งเลนส์ ในเขตทางโค้งที่เป็นช่วงอันตรายมาก ๆ เพิ่มให้กับผู้ใช้ทาง เข้าใจว่าเป็นการป้องกันถนนช่วงที่มีความลื่นค่อนข้างมาก จึงมีการตีเส้นจราจรเพิ่มความขรุขระของผิวถนน เพื่อให้ล้อรถยึดเกาะได้มากขึ้น ทำให้รถไม่ลื่นไถล โดยส่วนตัวแล้วหากพบสัญลักษณ์เหล่านี้บนถนน ก็จะลดความเร็วลงแล้วค่อย ๆ ขับไป แต่บางจุดก็มีการชำรุดเกิดขึ้นมาก อยากให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบซ่อมแซมให้ใช้งานได้ปกติด้วย
เส้นจราจรที่เป็นสีขาวจะน่าห่วงน้อยกว่าเส้นสีเหลือง โดยทั่วไปแล้วสีเหลืองหมายถึงการระมัดระวัง แต่คนใช้ทางส่วนใหญ่ก็จะขับโดยไม่สนใจสัญลักษณ์เหล่านี้ โดยเฉพาะการขับรถในเส้นที่บอกว่าห้ามแซง ก็จะเห็นว่าฝ่าฝืนกันอยู่บ้าง และหลาย ๆ ครั้งก็ทำเกิดอุบัติเหตุและการสูญเสียใหญ่โต ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้น อยากให้ผู้ใช้ทางปฏิบัติตามกฎจราจรกันให้มาก ๆ เพราะคนที่เค้าขับมาถูกอยู่แล้วจะต้องมาเสียหายโดยที่ไม่ได้ทำอะไรผิดเลยไปด้วย
ขอพูดถึงการจอดรถบ้าง เจ้าหน้าที่เค้าตีเส้นจราจร 1 ช่อง สำหรับการจอดรถ 1 คัน ซึ่งก็พอดีอย่างแน่นอน แต่ก็ยังมีผู้ที่จอดรถคร่อมเส้นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจ ว่าทำไมต้องจอดแบบนั้น เพราะหากคันแรกคร่อมเส้นไปแล้ว คันต่อมาเค้าก็ต้องคร่อมเส้นต่อ ๆ กันไปอีก ซึ่งทำให้การจอดรถไม่เป็นระเบียบ เกิดการตำหนิติเตียนกันเกิดขึ้น แล้วก็ไม่รู้ว่าใครผิดใครถูก ดังนั้นก่อนจอดก็ควรดูเส้นสักนิดจะได้ไม่เกิดปัญหาทีหลัง
“ลูกศร” พูดเรื่องอื่น ๆ กันไปเยอะแล้ว ขอพูดถึงเรื่องของลูกศรบ้าง โดยเฉพาะในเขตชุมชน จะมีการตีเส้นจราจรที่เป็นลูกศรเยอะแยะไปหมด ซึ่งอาจจะงงไปบ้างในบางจุด แต่ถ้าเรามองกันดี ๆ แล้วค่อย ๆ ขับขี่ไปตามสัญลักษณ์ มันคือความถูกต้อง บางคนไม่ขับขี่ตามลูกศร จากรถวิ่งทางเดียว ก็กลับต้องมาวิ่งสวนเลนส์กัน บางทีก็เฉียวกันด้วย ทำให้ต้องเสียเวลาทุกฝ่าย สังเกตที่พื้นถนนสักนิด แล้วเรื่องกระทบกระทั่งกันจะหมดไปได้มาก