ตีเส้นจราจร เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของระบบจราจรในทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นถนนในเขตเมือง ถนนระหว่างจังหวัด หรือแม้แต่ในบริเวณที่จอดรถของสถานที่ราชการและเอกชน จุดประสงค์หลักของการ ตีเส้นจราจร คือการจัดระเบียบการสัญจรของยานพาหนะและคนเดินเท้าให้ปลอดภัยและเป็นระเบียบมากที่สุด เส้นจราจรที่เราเห็นบนท้องถนนในแต่ละวันนั้น ไม่ใช่เพียงแค่เส้นสีขาวหรือสีเหลืองที่ทาไว้เท่านั้น แต่เบื้องหลังยังมีหลักเกณฑ์ มาตรฐาน และเทคนิคที่ต้องใช้ความรู้ ความชำนาญเฉพาะทางอย่างมาก
TAGS • ตีเส้นจราจร
ตีเส้นจราจร แบ่งออกได้หลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับหน้าที่และความจำเป็นในการใช้งาน เช่น เส้นแบ่งช่องจราจร เส้นหยุด เส้นชะลอความเร็ว เส้นข้ามทางม้าลาย เส้นแนวห้ามจอดรถ เส้นลูกศรบอกทิศทาง ฯลฯ ซึ่งเส้นแต่ละประเภทนี้มีข้อกำหนดที่ชัดเจนเรื่องสี ความหนา และลักษณะเส้น เช่น เส้นทึบหรือเส้นประ เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถเข้าใจและปฏิบัติตามกฎจราจรได้อย่างถูกต้อง
ในกระบวนการ ตีเส้นจราจร จะต้องมีขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้เส้นที่ตีมีความทนทานและใช้งานได้นาน เริ่มต้นจากการสำรวจพื้นที่ ตรวจสอบสภาพพื้นผิวถนนก่อนว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ หากพื้นผิวมีฝุ่น สิ่งสกปรก หรือความชื้น ต้องทำการทำความสะอาดและเตรียมพื้นผิวให้เรียบร้อยเสียก่อน หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการวัดระยะและกำหนดแนวเส้นตามแบบที่กำหนดไว้
เมื่อได้แนวเส้นที่ชัดเจนแล้วจะเริ่มทำการตีเส้นด้วยเครื่องมือเฉพาะทางที่เรียกว่า เครื่องตีเส้นจราจร ซึ่งจะใช้สีจราจรที่ได้มาตรฐาน มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ทนต่อแสงแดด ไม่หลุดลอกง่าย และทนต่อการเสียดสีจากยางรถยนต์ สีจราจรนี้มีทั้งสีเย็นและสีร้อน โดยสีเย็นเหมาะสำหรับพื้นที่ทั่วไปหรือพื้นที่ที่ไม่ต้องการความทนทานสูง ส่วนสีร้อนเหมาะสำหรับถนนหลักที่มีรถสัญจรตลอดเวลา เพราะยึดเกาะผิวถนนได้ดีกว่า
หลังจากตีเส้นเสร็จแล้วต้องรอให้สีแห้งสนิทก่อนเปิดใช้งาน ซึ่งระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับชนิดของสีและสภาพอากาศ ทั้งนี้ในบางพื้นที่อาจต้องโรยเม็ดสะท้อนแสงเพื่อเพิ่มความชัดเจนในเวลากลางคืน หรือในที่ที่มีแสงน้อย เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นเส้นจราจรได้ชัดเจนและปลอดภัยยิ่งขึ้น
เหตุผลที่ต้องมีการตีเส้นจราจร เพราะการจราจรที่ไม่มีเส้นกำกับจะทำให้เกิดความสับสนในการใช้ถนน เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ อีกทั้งเส้นจราจรยังช่วยให้การสัญจรเป็นระเบียบมากขึ้น เช่น การแยกช่องทาง การบังคับให้หยุด หรือการแสดงจุดปลอดภัยสำหรับคนเดินข้าม การละเลยการตีเส้น หรือปล่อยให้เส้นจราจรจางหายไปนานเกิน จะส่งผลเสียต่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนโดยตรง
นอกจากนี้ เส้นจราจรยังสะท้อนถึงภาพลักษณ์ขององค์กรหรือพื้นที่นั้นๆ หากเป็นหน่วยงานรัฐหรือบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ การมีเส้นจราจรที่ชัดเจน เป็นระเบียบ จะช่วยเสริมภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัยในการใช้งาน ทั้งยังช่วยลดความวุ่นวายในเวลาที่มีการใช้งานพื้นที่ร่วมกัน เช่น ที่จอดรถ หรือถนนในโรงงาน
สุดท้ายนี้การ ตีเส้นจราจร ไม่ใช่แค่เรื่องของการทาสีลงบนพื้นถนนเท่านั้น แต่เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ทางวิศวกรรมจราจร ความเข้าใจด้านความปลอดภัย การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม รวมถึงการตรวจสอบซ้ำเพื่อให้มั่นใจว่าเส้นที่ตีจะคงทนและตอบโจทย์การใช้งานในระยะยาว ดังนั้นการเลือกผู้ให้บริการตีเส้นจราจร ควรเลือกบริษัทที่มีประสบการณ์ มีผลงานที่เชื่อถือได้ และปฏิบัติตามมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้ถนนทุกคน
สรุป บทบาทของการ ตีเส้นจราจร คือการช่วยสร้างความปลอดภัย เป็นระเบียบ และช่วยลดอุบัติเหตุ หากพื้นที่ใดไม่มีเส้นจราจรที่ชัดเจนย่อมเกิดความสับสน ดังนั้นการใส่ใจในเรื่องเล็กๆ อย่างเส้นสีบนพื้นถนน คืออีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการพัฒนาระบบจราจรให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต
เห็นพูดถึงการตีเส้นจราจรที่ถนนทั่วไปกันเยอะ ขอพูดถึงเส้นสัญลักษณ์ของผู้พิการบ้าง ที่จะมีส่วนเพิ่มพื้นที่เป็นเส้นเอียงสีขาวเหลืองข้าง ๆ ทั้งปั๊มน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า และสถานที่ราชการต่าง ๆ ซึ่งทางเจ้าของสถานที่เค้าตีเส้นไว้ชัดเจนแล้ว แต่ก็ยังมีรถมอเตอร์ไซค์เข้าไปจอดที่ส่วนเพิ่มตรงนั้น ซึ่งไม่ถูกต้อง อยากให้รู้ว่าตรงนั้นคือพื้นที่สำหรับผู้พิการทั้งหมด เพราะผู้พิการที่นั่งรถเข็นจะต้องใช้พื้นที่ตรงนั้นด้วย เห็นใจผู้พิการด้วยนะครับ สังคมจะได้น่าอยู่
ขอพูดถึงทางม้าลายบ้าง ถ้าเป็นการตีเส้นจราจรใหม่ ๆ เส้นก็จะชัดเจน ตรงนี้ไม่เป็นปัญหา จนเวลาผ่านไปเส้นของทางม้าลายก็จะค่อย ๆ เลือนหายไป แต่ยังไงก็ยังก็มีให้เห็นอยู่ดี ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย คนข้ามทางก็ควรข้ามให้ตรงทางม้าลายด้วย อันตรายจะได้ลดน้อยลง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบก็ควรหมั่นตรวจเช็คความชัดเจนให้สม่ำเสมอ ส่วนคนขับรถก็ควรลดความเร็วและหยุดรถให้คนข้ามด้วยเช่นกัน
เนื่องจากเรามักจะเดินทางไกลค่อนข้างบ่อย แล้วจะเป็นเส้นทางภาคเหนือซึ่งจะมีทางโค้งค่อนข้างมาก บวกกับเป็นคนที่ขับรถช้า เลยได้สังเกตเห็นว่าบางเส้นทางที่แลดูค่อนข้างอันตราย เค้าจะมีการตีเส้นจราจรเป็นคำอ่านได้เลย เช่น “ลดความเร็ว” ซึ่งมีประโยชน์อย่างมาก ดังนั้นถ้าผู้ใช้ทางจะหมั่นสังเกตสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไปโดยตลอดทาง รวมถึงป้ายบอกทางด้วย มั่นใจว่าจะทำให้อุบัติเหตุลดลงไปได้มาก ๆ เลย
ชื่นชมการตีเส้นจราจรที่เป็นเส้นเตือนการเข้าเขตชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาล ต่าง ๆ ที่เป็นเส้นนูนสีขาว คาดยาวทั้งเลนส์ ในมุมมองของคนขับรถ การที่รถสะเทือนด้วยเส้นเตือนชุดนี้ทำให้ลดความเร็วของรถไปได้มาก การเกิดอันตรายก็จะลดน้อยลงด้วย แต่เจ้าหน้าที่ต้องหมั่นตรวจสอบอยู่บ่อย ๆ เพราะนาน ๆ เข้า เนินนูนของเส้นก็จะค่อย ๆ ลดความหนาลง เส้นสัญลักษณ์เหล่านี้ก็จะไม่มีความหมายอะไรเลย
ถ้าจะให้พูดถึงประโยชน์ของการตีเส้นจราจร ก็แน่นอนว่าต้องมีประโยชน์อยู่แล้ว แต่จะมีประสิทธิภาพมากพอหรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้ใช้ทางด้วย ซึ่งจุดนี้แหละเป็นเรื่องที่ยากที่สุด เพราะการกระทำและความคิดเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ต้องคิดกันได้เอง ดังนั้นในฐานะที่เป็นผู้ใช้ทางคนหนึ่ง ก็จะคอยสังเกตสัญลักษณ์อยู่เสมอ ก็เพื่อทั้งความปลอดภัยของตัวเอง รวมไปจนถึงคนอื่น ๆ ด้วย
เราเข้าสู่ยุคที่คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ชุมชนต่าง ๆ ก็เลยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนด้วยการสร้างเส้นทางเพิ่มให้ เช่น ทางสำหรับรถจักรยาน ทางสำหรับคนเดินออกกำลังกาย และทางสำหรับคนวิ่ง ซึ่งก็จะมีการตีเส้นจราจรไว้ให้อย่างชัดเจน ดังนั้นผู้ใช้ทางก็ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ทางของจักรยานก็อย่าไปเดินหรือไปวิ่ง จะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุที่มันไม่น่าเกิดขึ้นได้ สังคมเราจะได้น่าอยู่มากขึ้น
มีการใช้สัญลักษณ์ที่มีการทาสีแดงทั้งเลนส์ ในเขตทางโค้งที่เป็นช่วงอันตรายมาก ๆ เพิ่มให้กับผู้ใช้ทาง เข้าใจว่าเป็นการป้องกันถนนช่วงที่มีความลื่นค่อนข้างมาก จึงมีการตีเส้นจราจรเพิ่มความขรุขระของผิวถนน เพื่อให้ล้อรถยึดเกาะได้มากขึ้น ทำให้รถไม่ลื่นไถล โดยส่วนตัวแล้วหากพบสัญลักษณ์เหล่านี้บนถนน ก็จะลดความเร็วลงแล้วค่อย ๆ ขับไป แต่บางจุดก็มีการชำรุดเกิดขึ้นมาก อยากให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบซ่อมแซมให้ใช้งานได้ปกติด้วย
เส้นจราจรที่เป็นสีขาวจะน่าห่วงน้อยกว่าเส้นสีเหลือง โดยทั่วไปแล้วสีเหลืองหมายถึงการระมัดระวัง แต่คนใช้ทางส่วนใหญ่ก็จะขับโดยไม่สนใจสัญลักษณ์เหล่านี้ โดยเฉพาะการขับรถในเส้นที่บอกว่าห้ามแซง ก็จะเห็นว่าฝ่าฝืนกันอยู่บ้าง และหลาย ๆ ครั้งก็ทำเกิดอุบัติเหตุและการสูญเสียใหญ่โต ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้น อยากให้ผู้ใช้ทางปฏิบัติตามกฎจราจรกันให้มาก ๆ เพราะคนที่เค้าขับมาถูกอยู่แล้วจะต้องมาเสียหายโดยที่ไม่ได้ทำอะไรผิดเลยไปด้วย
ขอพูดถึงการจอดรถบ้าง เจ้าหน้าที่เค้าตีเส้นจราจร 1 ช่อง สำหรับการจอดรถ 1 คัน ซึ่งก็พอดีอย่างแน่นอน แต่ก็ยังมีผู้ที่จอดรถคร่อมเส้นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจ ว่าทำไมต้องจอดแบบนั้น เพราะหากคันแรกคร่อมเส้นไปแล้ว คันต่อมาเค้าก็ต้องคร่อมเส้นต่อ ๆ กันไปอีก ซึ่งทำให้การจอดรถไม่เป็นระเบียบ เกิดการตำหนิติเตียนกันเกิดขึ้น แล้วก็ไม่รู้ว่าใครผิดใครถูก ดังนั้นก่อนจอดก็ควรดูเส้นสักนิดจะได้ไม่เกิดปัญหาทีหลัง
“ลูกศร” พูดเรื่องอื่น ๆ กันไปเยอะแล้ว ขอพูดถึงเรื่องของลูกศรบ้าง โดยเฉพาะในเขตชุมชน จะมีการตีเส้นจราจรที่เป็นลูกศรเยอะแยะไปหมด ซึ่งอาจจะงงไปบ้างในบางจุด แต่ถ้าเรามองกันดี ๆ แล้วค่อย ๆ ขับขี่ไปตามสัญลักษณ์ มันคือความถูกต้อง บางคนไม่ขับขี่ตามลูกศร จากรถวิ่งทางเดียว ก็กลับต้องมาวิ่งสวนเลนส์กัน บางทีก็เฉียวกันด้วย ทำให้ต้องเสียเวลาทุกฝ่าย สังเกตที่พื้นถนนสักนิด แล้วเรื่องกระทบกระทั่งกันจะหมดไปได้มาก